Mobile : 097-096-2584 

Tel. : 02-961-6220-1 

Line@ ID : @nidapro  


 

สิ่งควรรู้สำหรับเจ้าหน้าที่จัดซื้อระดับตันและกลาง พิมพ์ อีเมล

สิ่งควรรู้สำหรับเจ้าหน้าที่จัดซื้อระดับต้นและกลาง

(The Standards of Purchasing Techniques)

หลักการและเหตุผล

     การจัดซื้อจัดหาสินค้าและบริการให้ได้ตามความต้องการของหน่วยงานต่างๆ ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัย

กระบวนการอันเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งวิวัฒนาการของการจัดซื้อจัดหาก้าวหน้าไปมาก นักจัดซื้อต้องรับผิดชอบสูงขึ้น

นอกจากซื้อสินค้าและบริการภายในประเทศให้สอดคล้องกับระดับสินค้าคงคลังตามความจำเป็นแล้ว ยังต้องจัดซื้อสินค้า

จากต่างประเทศ ด้วย หลักสูตรนี้ได้พัฒนาให้มีความเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับงานของนักจัดซื้อตั้งแต่

ระดับต้นและกลางรวบรวมความรู้งานจัดซื้อในประเทศบวกกับความรู้ในการจัดซื้อต่างประเทศ (เหมาะสำหรับนักจัดซื้อ

มืออาชีพทั้งหลาย และนักจัดซื้อมือใหม่ที่เพิ่งรับงานหรือขยายความรับผิดชอบงานจัดซื้อจัดหามีความรู้ “ครบวงจรงานจัด

ซื้อจัดหา” อย่างถูก ต้องแท้จริง) พร้อมความรู้เทคนิค แง่มุมอื่นที่จำเป็นและเป็นความรู้ที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น รู้จักใช้

กลยุทธ์งานจัดซื้อกับสินค้าวัตถุดิบและบริการที่แบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม วิธีจัดการกับสินค้าบางตัวที่มีผลกระทบ และความ

เสี่ยงต่อองค์กรสูง การวางแผนงานจัดซื้อจัดหาให้สอดคล้องกับเป้าหมายและงบประมาณของแต่ละแผนก รูปแบบการ

ประเมินซัพพลายเออร์ก่อนและขณะติดต่อคบค้ากัน ต้นทุนกับการต่อรองราคาซื้อขาย ซึ่งจะเป็นพื้นฐานความรู้งานจัดซื้อ

รูปแบบมาตรฐานใช้ปฏิบัติได้จริง อีกทั้งยังขยับขยายจากพื้นฐานความรู้ ค้นคว้าหาความรู้ เพิ่มขึ้นในเชิงลึกและกว้างมาก

ขึ้น จากการอ่านตำรับตำราวิชาจัดซื้อจัดหา และจากการเข้าร่วมสัมมนา หลักสูตรงานจัดซื้ออื่นๆ อีกมากได้ด้วย

 

เนื้อหาของหลักสูตรวันแรก (ภาคเช้า)

1. หัวใจและเป้าหมายในการจัดซื้อ 6 R’s

2. กระบวนการในการบริหารงานจัดซื้อ

   The Purchasing Cycle

3. ประโยชน์และวิธีทำ Standardization

4. วิธีกำหนด Specification

   ให้เหมาะกับสินค้าและบริการ

5. เทคนิคการหาแหล่งขาย

6. สูตรสำเร็จของการจะซื้อเมื่อไร และซื้อเท่าไร

7. การบริหารพัสดุด้วยวิธี ABC Analysis

8. เทคนิคการจัดซื้อทุกรูปแบบ เช่น

         ระบบเงินสดย่อย

         - ระบบวิ่งซื้อ

         - การประมูล

         - การสั่งซื้อครั้งเดียวแต่ส่งหลายครั้ง

         - การทำสัญญาซื้อแบบยกทั้งระบบ

         - ระบบจัดซื้อแบบไม่ใช้กระดาษ

         - ระบบออนไลน์ ฯลฯ

 

เนื้อหาของหลักสูตรวันแรก (ภาคบ่าย)

1. วิธีกำหนดเป้าหมายของงานจัดซื้อ พร้อมตัวอย่าง

2. การเตรียมวางนโยบายจัดซื้อ

   และเตรียมพร้อมเพื่อทำคู่มือจัดซื้อ

3. การเลือกเงื่อนไขการชำระเงิน (Credit Term)

4. การสร้างกำไรโดยการส่งประโยชน์

   ของหน่วยงานจัดซื้อ

5. สิ่งควรรู้สำหรับงานจัดซื้อต่างประเทศ

      - Incoterms 2000 

      - การขนส่งทางทะเล

      - การเลือกทำประกันภัย

      - การประเมินราคาวิธี

        Transaction Value (GATT)

6. กฎหมายเกี่ยวกับงานจัดซื้อ P/O,

   Fax and e-mail และรับโอนกรรมสิทธิ์ 

      - หลักเกณฑ์การตรวจรับมอบ

      - ข้อตกลงในการซื้อขาย

      - การกำหนดบทปรับที่เหมาะสม

7. จรรยาบรรณในงานจัดซื้อ

8. วุฒิบัตรนักจัดซื้อมืออาชีพ

 

เนื้อหาของหลักสูตรวันที่สอง (ภาคเช้า)

1. การจัดกลุ่มสินค้าวัตถุดิบและบริการที่จัดซื้อ

    (The Supply Positioning Model)

   ทำให้งานจัดซื้อจัดหามีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดกลุ่มสินค้า

   วัตถุดิบที่ซื้อหาเข้าโรงงาน

3. ยุทธศาสตร์การจัดการกับสินค้าวัตถุดิบที่ใช้เงินซื้อ 

    ด้วยเงินจำนวนมากในปีหนึ่งๆ

4. รู้จักกลุ่มสินค้าที่มีผลกระทบและความเสี่ยงต่อ

    องค์กรสูง เพื่อวางแนวป้องกัน

5. วิธีการจัดซื้อจัดหาสินค้าที่หาซื้อได้ยากกับสินค้า

    ที่มีขายทั่วไป และการพิจารณาระดับสต็อก

6. ปัจจัยการพิจารณาเปลี่ยนแหล่งขาย (Switching

    cost & price variability) ากแหล่งเดิมไปแหล่งใหม่

7. การตรวจสอบและประเมินซัพพลายเออร์

8. แนวคิดและเหตุผลของการประเมินผู้ขาย ผนวกกับ

    การทำ Supplier Inspection

9. วิธีประเมินผู้ขายด้านเทคนิคการผลิตด้านความ

    มั่นคงทางการเงิน ด้านเชิงพาณิชย์และ

    ด้านสิ่งแวดล้อม

 

เนื้อหาของหลักสูตรวันที่สอง (ภาคบ่าย)

1. ต้นทุนใช้ในการต่อรองราคา และต้นทุนใช้วิเคราะห์

    ราคาวัตถุดิบเพื่อพิจารณาซื้อ

2. ตัวอย่างการคำนวณ Unit Price

3. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีสำหรับนักจัดซื้อ

    Credit Note – Debit Note  และประเภทของ

    “ต้นทุน” ที่จำเป็นใช้ต่อรองราคาสินค้ากับผู้ขาย

4. การวางแผนงานจัดซื้อจัดหา (Planning supply)

   ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและงบประมาณขององค์กร

5. การทำงบประมาณกับงานจัดซื้อจัดหา

6. ขั้นตอนการวางแผนงานจัดซื้อจัดหา ให้สอดคล้อง

    กับงบประมาณของแต่ละแผนก

7. วิธีกำหนดความสำคัญและแรงกระทบของสินค้า

    วัตถุดิบที่จะจัดซื้อจัดหา

8. การจัดประเภทค่าใช้จ่ายกับการทำตารางจัดซื้อ

    สินค้าวัตถุดิบ เพื่อสายการผลิตและสินค้าทุน

9. การระบุเงื่อนไขอื่นที่จำเป็นใน P/O (Purchase

    Order) เพื่อให้ผู้ขายปฏิบัติ     

************ โปรดนำเครื่องคำนวณ มาในวันสัมมนาด้วย****************

วิทยากร

คุณกิตติกร โชติสกุลรัตน์

C.P.S., Adv.Cert.PSCM(ITC), CIPS Int'l Advanced Cert.Holder

ประธานฝ่ายกิจการต่างประเทศ สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย

กรรมการรองผู้จัดการ บจก.แกรนด์สยาม

วิทยากรหลักสูตร CIPS สถาบันบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายแห่งประเทศอังกฤษ

คุณสุชาติ ประเสริฐสม C.P.S.

- อุปนายกและประธานฝ่ายพัฒนาวิชาชีพ

  สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย

- กรรมการบริหาร บจก.อัลฟ่า แมเนจเมนท์ คอนซัลแตนท์

- วิทยากรหลักสูตร CIPS สถาบันบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายแห่งประเทศอังกฤษ

กำหนดการสัมมนา

รุ่นที่ 131

วัน... / 09.00-16.00 น.

ณ โรงแรมจัสมิน ซิตี้ กรุงเทพฯ สุขุมวิท 23 (BTS อโศก หรือ MRT สุขุมวิท)

อัตราค่าสัมมนา

เข้าสัมมนา 2 วัน ท่านละ 7,800 + VAT 546 =  8,346 - (หัก ณ ที่จ่าย) 234 = 8,112 บาท

(สามารถเลือกเข้าสัมมนา เพียงวันแรกหรือวันที่สองเพียงวันเดียวได้)

รวมเอกสารประกอบการบรรยาย อาหารว่างและอาหารกลางวัน

ยิ่งอบรมมาก ยิ่งเสียภาษีน้อย ค่าอบรมสามารถลงรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นถึง 200%