จรรยาบรรณและ CSR ของการจัดซื้อจัดหายุคใหม่ พิมพ์

จรรยาบรรณและCSR

ของการจัดซื้อจัดหายุคใหม่

Ethics & CSR for Modern Purchasing & Supply

 

ความสำคัญ

                   การจัดซื้อจัดหาทุกวันนี้นอกจากจะต้องพิถีพิถันให้มากขึ้นในประเด็นของ

จรรยาบรรณและ CSR ขององค์กรตนเองแล้ว ยังถูกเรียกร้องให้ต้องสอดส่องดูแลพฤติกรรม

ของคู่ค้าต้นน้ำในซัพพลายเชนอีกด้วย แม้ว่าองค์กรของนักจัดซื้อจะดีเพียงใดแต่ถ้าไปทำธุรกรรม

จัดซื้อจัดจ้างกับซัพพลายเออร์ที่ไร้จรรยาบรรณและละเมิด CSR ละก้อ องค์กรของฝ่ายจัดซื้อเอง

นั่นแหละที่จะต้องเดือดร้อนและได้รับผลกระทบไปด้วย การเรียนรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณอันเป็น

สากลและเรื่องราวเกี่ยวกับ CSR จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำงานจัดซื้อจัดหายุคปัจจุบัน

 

หัวข้อสัมมนา

  1. CSR กับ Green procurement เกี่ยวพันกันอย่างไร

  2. ปัญหาคาใจในการจัดซื้อจัดจ้างที่ก้ำกึ่งสงสัยว่าผิดจรรยาบรรณไหม สมควรไหม เช่น

          * ซัพพลายเออร์ที่ชนะการเสนอราคาแล้ว แต่นักจัดซื้อขอเจรจาต่อรองอีก

          * การยุให้ซัพพลายเออร์ห้ำหั่นราคากันโดยวิธีต่างๆ

          * การขอใบเสนอราคา ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ซื้อ ขอมาเป็นพระอันดับ

          * นักจัดซื้อเชิญชวนซัพพลายเออร์ให้ร่วมไปทำบุญด้วยกัน

          * การขอความร่วมมือให้ซัพพลายเออร์ช่วยสนับสนุนการจัดงานปีใหม่

          * การเล่นกอล์ฟด้วยกัน กินข้าวด้วยกัน ทำกิจกรรมด้วยกัน ผิดจริงหรือ

          * นักจัดซื้อคบกับซัพพลายเออร์บางรายอย่างใกล้ชิดและไม่คบกับบางราย

          * ฯลฯ

  3. บทบาทของ PERC - Political and Economic Risk Consultancy

  4. CSR กับ ISO-26000, ISO-20400, ISO-18000, ISO-14000

  5. DJSI คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการทำงานจัดซื้อ

  6. FSC คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการทำงานจัดซื้อ

  7. ทำไม CSR จึงเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ

  8. ตัวอย่างของ CSR in the Global Supply Chain

  9. จรรยาบรรณระดับสากลในการจัดซื้อครอบคลุมอะไรบ้าง

10. สรุปประเด็นสำคัญของจรรยาบรรณและ CSR เพื่อการทำงานจัดซื้อแบบยั่งยืน

 

วิทยากร

คุณเชี่ยวชาญ รัตนามหัทธนะ C.P.M.,A.P.P.,MCIPS 

ประสบการณ์ :

นายกสมาคมคนแรก (พ.ศ.2531-2549) สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย

- คนไทยคนแรกที่ได้รับวุฒิบัตร C.P.M. และ A.P.P. สหรัฐอเมริกา และ MCIPS กิตติมศักดิ์จากอังกฤษ

ได้รับประกาศนียบัตร Lead Assessor for ISO-9000 สถาบัน IQC ของอังกฤษ

 

กำหนดการสัมมนา

รุ่นที่ 5

No seminar schedule

 

อัตราค่าเข้าร่วมการสัมมนา

3,900+VAT273 = 4,173 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 117 บาท)

กรณีส่งเข้าอบรม 3 ท่านขึ้นไปจะได้ส่วนลดท่านละ 400 บาท

ยิ่งอบรมมาก ยิ่งเสียภาษีน้อย ค่าอบรมสามารถลงรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นถึง 200%