ปัญหาและข้อควรระวัง ในการจัดทำ และ การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน พิมพ์

ปัญหาและข้อควรระวัง

ใน การจัดทำ และการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน

 ความสำคัญ

          ในการจัดทำรายงานทาง การเงินมีความสำคัญ และ ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง

เพราะถ้าการนำเสนอ รายงานไม่ถูกต้อง หรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี และผู้มีหน้าที่

จัดทำบัญชี (กรรมการหรือเจ้าของกิจการ) ต้องรับผิดชอบต่อ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

           สถาบันได้เล็งเห็นถึงความ จำเป็น และความสำคัญ ในเรื่องนี้จึงได้จัดสัมมนาขึ้น

เพื่อให้นักบัญชี ได้เกิดแนวคิดและ ระมัดระวังมากขึ้นในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน

           โดยแนวทางการสัมมนา จะเน้นและชี้ประเด็นที่ต้อง ระมัดระวังและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  

{xtypo_info} รายละเอียดในการสัมมนา {/xtypo_info}

ปัญหาและข้อควรระวัง !

ในการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับมาตรฐานการบัญชีฉบับต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1 หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 11 )

2 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 24 )

3 งบกระแสเงินสด    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 25 )

4 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนฯ    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 30 )

5 สินค้าคงเหลือ    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 31 )

6 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 32 )

7 ต้นทุนการกู้ยืม    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 33 )

8 การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 34 )

9 การนำเสนองบการเงิน    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 35 )

10 การด้อยค่าของสินทรัพย์    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 36 )

11 การรับรู้รายได้    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 37 )

12 กำไรต่อหุ้น    ( มาตรฐาน ฉบับที่ 38 )

13 การบัญชีสำหรับเงินทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน  ( มาตรฐาน ฉบับที่ 40 )

14 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน ( มาตรฐาน ฉบับที่ 48 )

วิทยากร

อาจารย์สุพัฒน์  อุปนิกขิต

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่ปรึกษาและวางระบบบัญชี

มีประสบการณ์ในการบริหารงานด้านบัญชีมากกว่า 35 ปี

กำหนดการสัมมนา

หลักสูตรนี้ รุ่นต่อไปยังไม่มีกำหนดเปิด